shopup.com

Etiam sit amet orci eget eros faucibus tincidunt. Duis leo. Sed fringilla mauris sit amet nibh. Donec sodales sagittis magna. Vestibulum purus quam, scelerisque ut, mollis sed, nonummy id, metus. Nullam accumsan lorem in dui. - See more at: http://www.shopup.com

3416138

ดูบทความโรคเก๊าท์ กับ สมุนไพรหมอเส็ง

โรคเก๊าท์ กับ สมุนไพรหมอเส็ง

โรคเก๊าท์ 

เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากเกินไป จนตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะภายในข้อต่อและพังผืด รอบๆข้อและไต
กรดยูริคเกิดขึ้นได้อย่างไร?
     โดยปกติ ร่างกายของคนเรามีการสร้างกรดยูริคอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว กรดยูริคส่วนใหญ่ราว 2 ใน 3 เป็นของเสียที่เกิดจากขบวนการสร้างเซลล์ใหม่ๆ เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่แก่เฒ่า หรือตายไปซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา กรดยูริคส่วนน้อยเกิดจากการสลายของอาหารพิวรีนหรือโปรตีนที่กินเข้าไป นั่นเอง

     กรดยูริคที่เกิดขึ้น ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ร่างกายจะขับออกจากทางปัสสาวะและที่เหลือโดยทางอุจจาระ ดังนั้นผู้ที่มีกรดยูริคสูง จึงไม่ได้เกิดจากการกินอาหาร “แสลง” หรือโปรตีนมากเกินไปดังที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ แต่มักจะเกิดจากความผิดปกติของร่างกายเกี่ยวกับการสร้างมากเกินไป หรือไตขับกรดยูริคน้อยเกินไป


สาเหตุของโรคเก๊าท์
หรือสาเหตุที่ร่างกายมีกรดยูริคสูงผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 จำพวกคือ

  1. เก๊าท์ปฐมภูมิ ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 จะอยู่ในกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการที่ไตขับถ่ายกรดยูริคน้อยเกินไป โดยมักเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เพศและฮอร์โมนทางเพศด้วย เพราะเก๊าท์พบบ่อยในชายวันกลางคนมากกว่าเพศหญิงราว 9-10 เท่า และเพศหญิงมักจะเป็นโรคเก๊าท์ในวัยสูงอายุ หรือหลังจากหมดระดูไปแล้ว 10-20 ปี

  2. เก๊าท์ทุติยภูมิ หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัวอื่นอยู่แล้วหรือกินยาที่ใช้รักษาตัว เป็นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงจนเกิดอาการโรคเก๊าท์เป็นผลพวงตามมา ตัวอย่าง เช่น
    • โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดโลหิตขาวบางชนิด
    • โรคไตวายเรื้อรัง
    • โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
    • โรคหัวใจบางชนิด
    • ผู้ป่วยที่กินยาประจำบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแอสไพรินขนาดน้อยๆ ยาต้านวัณโรค เป็นต้น

    โรคเก๊าท์ที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ พบได้น้อยมาก คือ ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด

สำหรับโรคเก๊าท์ปฐมภูมิ แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ

  1. ระยะที่ไม่มีอาการ ตรวจพบกรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้นซึ่งในเพศชายจะเริ่มมีกรดยูริคสูงตั้งแต่อายุ 14-15 ปี หรือเริ่มเป็นหนุ่ม ในเพศหญิงจะเริ่มสูงหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว

  2. ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยมักเริ่มปวดบวมที่ข้อเท้าหรือหัวแม่เท้า อาการปวดข้อรุนแรงมากจนเดินไม่ได้หรือเดินลำบาก หากรับการรักษาอาการจะหายสนิทได้ภายใน 1-3 วัน หากปล่อยไว้ก็อาจหายเองได้ภายใน 4-6 วัน โดยข้ออักเสบจะหายเป็นปกติ

  3. ระยะเป็นๆ หายๆ อาการข้ออักเสบจะกำเริบเป็นซ้ำที่เดิมเป็นๆหายๆ เริ่มแรกอาจกำเริบปีละ 1-2 ครั้ง ต่อมาถี่ขึ้นเป็นปีละ 4-5 ครั้ง ข้ออักเสบจะเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1-2 ข้อ, 3-4 ข้อ จนเป็นหลายๆข้อ เช่น ที่ข้อเท้า 2 ข้าง, เข่า ช่วงเวลาที่ข้ออักเสบจะยาวขึ้น เช่น เป็นครั้งละ 5-7 วัน, 7-10 วัน เป็นต้น

  4. ระยะข้ออักเสบเรื้อรัง มักมีข้ออักเสบหลายข้อ และเป็นตลอดเวลา ไม่มีช่วงเว้นว่างหายสนิทอีกระยะนี้มักจะมีปุ่มก้อนขึ้นตามข้อต่างๆที่มีอาการอักเสบ เช่น ที่ตาตุ่มของเท้า หัวแม่เท้า ข้อศอก เข่า ข้อมือ เป็นต้น ปุ่มเหล่านี้ คือ ก้อนผลึกยูเรทที่สะสมมากขึ้นๆ บางครั้งจะแตกออกเป็นสารขาวๆ คล้ายยาสีฟันไหลออกมา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีข้อพิการผิดรูปปวดทุกข์ทรมานมาก และอาจมีโรคไตวายแทรกซ้อนได้ อาการจากระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 4 อาจใช้เวลาหลายสิบปี แต่ในรายที่รุนแรงอาจใช้เวลาเพียง 5-10 ปี เท่านั้น และหากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องจนเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อนยิ่งจะทำให้เกิดโรคเก๊าท์เป็นรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย

เก๊าท์
Cr.ภาพ phetcharathospital

การป้องกันและดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

การป้องกันโรคเก๊าท์ที่สามารถทำได้ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนการดูแลตัวเองของผู้ป่วย

  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรศึกษาอย่างละเอียดว่าอาหารชนิดใดควรหรือไม่ควรรับประทาน หลีกเลี่ยงฟรุกโตสซึ่งพบมากในน้ำอัดลม
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นการเพิ่มระดับของกรดยูริกได้
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
  • หากมีอาการปวดเฉียบพลันให้พักการใช้ข้อที่อับเสบ แล้วใช้วิธีประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ

Cr ข้อมลจาก .bumrungrad/thonburihospital
โรคเก๊าท์ สมุนไพรหมอเส็ง

โรคเก๊าท์ แนะนำสมุนไพร หมอเส็ง 2 สูตร

1.สตาร์ไลฟ์111
รับประทาน ครั้งละ 30 มล.เช้า-เย็น
2.ยาปวดเมื่อย
รับประทานคร้งละ 50มล.ครึ่งขวด(ก่อนอาหาร)เช้า-เย็น

 การรับประทานสมุนไพรหมอเส็ง ช่วยให้ระบบกลไกการทำงานของร่างกายมีความสมดุล ฟื้นฟู กระตุ้นเซลล์ที่เสื่อมให้กลับมาทำงานได้ดีอีกครั้ง เสริมภูมิต้านทานโรค เมื่อร่างกายแข็งแรงดี โรคจะเบาลง   สอบถามสั่งสินค้า  

30 กรกฎาคม 2566

ผู้ชม 15881 ครั้ง

Engine by shopup.com